This website uses cookies to improve user experience. By using our website you consent to all cookies in accordance with our Cookie Policy.

สถานที่ท่องเที่ยว

เลือกรายการสถานที่ท่องเที่ยวตามไลฟ์สไตล์ของคุณ

ปอเนาะเมาะโง (ปอเนาะแห่งแรกของประเทศไทย)
ปอเนาะเมาะโง (ปอเนาะแห่งแรกของประเทศไทย)
ปอเนาะเมาะโง บ้านดูวา ต.สะกำ อ.มายอ จ.ปัตตานี
ปอเนาะเมาะโง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1930 ก่อตั้งโดย ต่วนกูรูฮายีฮาซัน เบนมูฮำหมัดอามีน โดยท่านเป็นคนบ้านนถนน อ.มายอ เกิดเมื่อปี 1896 ในช่วงแรกมีมีนักเรียนมาศึกเพียง 20-30 คน และต่อมา ก็มีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนประมาณ 300-400 คน และมีมากถึง 800-1000 คน นักเรียนที่มาเรียนนอกจากเป็นคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ยังมีนักเรียนที่มาจากภูมิภาคอื่น อาทิ นครศรีธรรมราช ต่อมาชื่อเสียงของท่านเพิ่มมากขึ้น เมื่อราว ปี 1941 ทำให้ชาวประเทศมาเลเซีย กลันตัน, ปาหัง, เปรัค และเคดาห์ ได้เดินทางมาเรียนเ เป็นจำนวนมาก ลักษณะปอเนาะเป็นอาคาร 3 หลัง และตั้งอยู่ติดกันประกอบด้วย ปอเนาะเมาะโง อาคารเรียน (บาแล/บาลัย) และบ้านพักโต๊ะครู
พิพิธภัณฑ์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
พิพิธภัณฑ์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
63 ถนนอาเนาะรู ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จ.ปัตตานี 94000
ศาลเจ้าเล่งจูเกียง หรือ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ตั้งอยู่บริเวณย่านเมืองเก่า "กือดาจีนอ" อยู่ที่ 63 ถนนอาเนาะรู ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นศาลเจ้าเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2117 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา ลักษณะเป็นศาลเจ้าชั้นเดียว แบ่งเป็นห้องโถงกลาง มีปีกซ้ายและปีกขวา ลานด้านหน้าอาคารมีแท่นบูชาเทวดา มีแท่นบูชาสามแท่น แท่นกลางคือโจ๊วซูกง ซึ่งเป็นเทพประธาน และ เจ้าแม่ทับทิม แท่นซ้ายคือเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวและน้องเจ้าแม่ ส่วนแท่นขวาคือตั่วเหล่าเอี้ย หรือ เจ้าพ่อเสือ และฝูเต๋อเจิ้งเฉิน ห้องโถงด้านขวามีเทพซาเจียงกุน และ เจ้าแม่กวนอิม ห้องโถงด้านซ้ายมีเทพกุนเต้กุน เดิมศาลเจ้านี้มีชื่อเรียกว่า "ศาลเจ้าซูก๋ง" เพราะมีโจ๊วซูก๋งหรือพระหมอเป็นเทพหลักของศาล ต่อมาได้รับการบูรณะและจัดงานสมโภช โดยหลวงสำเร็จกิจการจางวาง (ตันจงซิ่น) เมื่อปี พ.ศ. 2407 หลังจากนั้นพระจีนคณานุรักษ์ (ตันจูล่าย) ได้อัญเชิญเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวจากบ้านกรือเซะมาประดิษฐานในศาล และตั้งชื่อศาลใหม่ว่า "ศาลเจ้าเล่งจูเกียง" แต่นิยมเรียก "ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว" ทั้งนี้ศาลเจ้าเล่งจูเกียงมีพระมหากษัตริย์ไทยได้เสด็จมายังศาลเจ้าแห่งนี้สามพระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่เสด็จมาจะพระราชทานกระถางธูปเป็นประจำ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาได้พระราชทานรูปเคารพเจ้าแม่กวนอิมและกระถางธูปทองเหลืองขนาดใหญ่แก่ศาลเล่งจูเกียง เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จมาเคารพศาลเจ้าแห่งนี้หลายครั้ง บางครั้งก็เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ ตามตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ได้กล่าวว่า เป็นหญิงชาวจีนตระกูลลิ้มหรือหลิม มีพี่ชายชื่อลิ้มโต๊ะเคี่ยมซึ่งต่อมาได้เดินทางมารับราชการที่เมืองปัตตานีและสมรสกับธิดาของเจ้าเมือง เข้ารีตอิสลามและไม่หวนกลับบ้านเกิดเมืองนอน มารดาที่อยู่ในประเทศจีนก็คิดถึงบุตรชายยิ่งนักเพราะไม่ติดต่อกลับมาเลย ลิ้มกอเหนี่ยวสงสารมารดาจึงอาสาออกตามหาพี่ชาย จนพบกับลิ้มโต๊ะเคี่ยมที่บ้านกรือเซะ และอาศัยอยู่ที่นั่นยาวนานก็เพื่อชวนให้พี่ชายกลับเมืองจีนไปพบมารดา แต่พี่ชายกลับปฏิเสธเพราะกำลังสร้างมัสยิดกรือเซะ เมื่อไม่สามารถทำให้พี่ชายกลับประเทศจีนตามความประสงค์ของมารดา ลิ้มกอเหนี่ยวจึงผูกคอตายใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์ ด้วยความอาลัย ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงสร้างฮวงซุ้ยให้แก่น้องสาวตามประเพณี แต่เมื่อชาวจีนได้ทราบถึงความกตัญญูรักษาสัตย์ จึงมีชาวบ้านไปบนบาน ก่อนนำไม้มะม่วงหิมพานต์นั้นมาแกะสลักเป็นรูปเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวประดิษฐานไว้ที่ศาลเจ้ากรือเซะ ภายหลังได้ย้ายไปประดิษฐาน ณ ศาลเล่งจูเกียงจนถึงปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับนับถือในกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนสืบต่อมา แม้กระทั่งลูกหลานชาวจีนที่เปลี่ยนเข้ารับศาสนาอิสลามและใช้ภาษามลายูไปแล้ว แต่บางส่วนก็มีไปขอพรหรือบนบานกับเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ในวันฮารีรายอก็จะมีการเซ่นสรวงเจ้าแม่ และเมื่อพิธีแห่เจ้าแม่เดือนสามชาวมุสลิมเชื้อสายจีนก็จะไปชมขบวนเพื่อระลึกถึง
บ้านหลวงสุนทรสิทธิโลหะ
บ้านหลวงสุนทรสิทธิโลหะ
บ้านเลขที่ 19 ถ.อาเนาะรู เทศบาลเมืองปัตตานี จ.ปัตตานี 94000
หลวงสุนทรสิทธิโลหะ (ตันจูเบ้ง) เป็นลูกชายคนโตของ หลวงสำเร็จกิจกรจางวาง (ตันปุ่ย) ต้นตระกูลคณานุรักษ์ เป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางการค้าขายรวมถึงดูแลชาวจีนในปัตตานี ท่านมีบ้านที่ถือว่ามีอาณาบริเวณกว้างขวางมาก คือ มีพื้นที่ตั้งแต่บ้านเลขที่ 17 ไปจนถึงบ้านเลขที่ 25 ถนนอาเนาะรู ตัวบ้านที่ท่านและภรรยาหลวงพักอาศัยอยู่เป็นตึก 2 ชั้นทรงจีนโบราณอยู่ในสวนด้านหลัง ส่วนบริเวณด้านหน้าของบ้านจะเป็นที่บรรดาภรรยาคนอื่นๆ ของท่านพักอาศัย ตัวตึกในสวนได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนางเป้าเลี่ยง(คณานุรักษ์) วัฒนายากร บุตรสาวของหลวงสุนทรสิทธิโลหะ ส่วนบ้านเรือนด้านหน้าเป็นกรรมสิทธิ์ของบุตรคนอื่นๆ และต่อมาได้มีการขาย ต่อให้นางเป้าเลี่ยงและขุนธำรงพันธุ์ภักดี (ซุ่นจ่าย วัฒนายากร)ผู้เป็นบุตรชาย ปัจจุบันภายในบ้านเก็บรักษาของเก่ามีค่า เช่น ถ้วยชามสังคโลก ปืนใหญ่ เครื่องใช้ต่าง ๆ ในอดีต CR : pattaniheritagecity.psu.ac.th
บ้านเลขที่ 1
บ้านเลขที่ 1
บ้านเลขที่ 1 ถ.อาเนาะรู อ.เมือง จ.ปัตตานี
ประวัติและความสำคัญ เป็นบ้านทรงจีน 2 ชั้น ตั้งอยู่ตรงหัวมุมถนนอาเนาะรู บ้านเลขที่ 1 ไม่ใช่บ้านหลังแรกของย่านเมืองเก่าแต่เป็นบ้านที่มีเลขที่เป็นลำดับแรกของที่นี่หลังมีระบบจัดทำทะเบียนบ้าน บ้านหลังนี้มีกำแพงรอบบริเวณบ้าน มีสวนอยู่หลังบ้าน พื้นบ้านสร้างยกสูงจากถนน ผนังบ้านมีความหนามาก กลางบ้านเปิดหลังคาโล่งทำให้อากาศถ่ายเทได้ดี ภายในบ้านมีประตูกลสำหรับกันขโมย เมื่อปิดแล้วจะเปิดไม่ได้หากไม่รู้วิธีเปิด หลังคาเป็นหลังคาจั่ว 3 แถว บริเวณหน้าจั่วประดับด้วยงานปูนปั้นอันเป็นเอกลักษณ์ 3 รูปแบบ ได้แก่ สิงห์ พระจีนฯ และดาบไขว้ ตามความเชื่อในเรื่องความเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ที่หัวเสาด้านบนยังประดับลวดลายปูนปั้นศิลปะจีนอย่างสวยงาม CR : pattaniheritagecity.psu.ac.th
บ้านขุนพิทักษ์รายา
บ้านขุนพิทักษ์รายา
251 ถนนปัตตานีภิรมย์ เทศบาลเมืองปัตตานี ต.อาเนาะรู อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
บ้านขุนพิทักษ์รายาเป็นเรือนแถว 2 ชั้น 2 คูหา 2 ช่วงเสา รูปแบบของตึกแถวมีการประยุกต์ระหว่างสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นและสถาปัตยกรรมจีน มีอายุประมาณ 90-120 ปี ชั้นหนึ่งของอาคารมีโครงสร้างเป็นผนังรับน้ำหนักโดยใช้อิฐก่อและฉาบด้วยปูน โดยผนังฝั่งที่ติดข้างบ้านเป็นการใช้ผนังร่วมกัน ซึ่งเป็นบ้านที่เป็นพี่น้องกัน โดยผนังฝั่งนี้ยังพบร่องรอยของระดับหลังคาเดิมของบ้านก่อนที่จะมีการปรับปรุงมาเป็นรูปแบบที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ชั้นสองของอาคารเป็นโครงสร้างเสาคาน เสาไม้เชื่อมต่อลงมาถึงชั้นหนึ่งของบ้าน หลังคาส่วนหน้าอาคารเป็นทรงจั่ว ส่วนหลังของอาคารเป็นทรงปั้นหยา มีพาลัยหลังคาทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสองของอาคาร โดยหลังคาทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องดินเผามุงหลังคาแบบปลายแหลม ลักษณะการเจาะช่องเปิด ชั้นล่างฝั่งหน้าบ้านเป็นประตูบานเฟี้ยม 10พับ ลายสายฝนด้านบนมีช่องลมเพื่อระบายอากาศ ชั้นล่างฝั่งด้านข้างบ้านมีประตูบานเปิดแบบจีนขนาบข้างด้วยหน้าต่าง ทางฝั่งหลังบ้านมีประตูแบบจีนจำนวน 2 บาน ชั้นบนทั้งหมดของอาคารมีลักษณะเป็นผนังไม้ตีแนวนอนแบบเข้าลิ้นไม้ และมีหน้าต่างลูกฟักแบ่งสามช่วงเปิดยาวถึงพื้น โดยลูกฟักกลางเป็นบานเกล็ดเปิดกระทุ้ง ด้านหน้าอาคารมีหน้าต่างยาวจำนวน 2 บาน และเหนือกรอบหน้าต่างเป็นช่องแสงกรุกระจก ส่วนฝั่งด้านข้างบ้านเป็นผนังไม้และมีหน้าต่างลูกฟักเช่นเดียวกับด้านหน้าบ้านจำนวน 5 บานและฝั่งด้านหลังบ้านอีก 2 บาน เหนือกรอบบานมีช่องลมตลอดแนว การวางผังของบ้านแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก โดยยังยึดถือคติความเชื่อในการวางผังใน รูปแบบเดิม คือ ส่วนด้านหน้าเป็นพื้นที่กึ่งส่วนตัว (Semi Private) ส่วนด้านหลังบ้านและชั้นสองใช้สำหรับพักผ่อน (Private) พื้นที่ทั้งสองถูกเชื่อมด้วยลานกลางหาว (Courtyard) หรือฉิมแจ้ ตามหลักฮวงจุ้ย เป็นที่ตั้งของบ่อน้ำและยังมีประโยชน์ในการถ่ายเทอากาศจากภายนอกบ้านทำให้ภายในบ้านมีอากาศหมุนเวียนตลอด เพื่อช่วยปรับสมดุลอุณหภูมิภายในบ้าน ส่งผลให้ภายในบ้านเย็นสบายเหมาะแก่การอยู่อาศัย บ้านขุนพิทักษ์รายาตั้งอยู่ในย่านหัวตลาดหรือย่านตลาดจีน ถนนปัตตานีภิรมย์ จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและเป็นภาพสะท้อนความเจริญรุ่งเรืองของย่านนี้ พื้นที่ชุมชนหัวตลาด เป็นพื้นที่ย่านการค้าและพักอาศัยของชุมชนชาวจีนกลุ่มแรกๆที่เข้ามายังปัตตานี มีถนนปัตตานีภิรมย์ตัดเลียบขนานกับแม่น้ำปัตตานี ถัดมาเป็นถนนอุดมวิถีและถนนนาเกลือ มีถนนที่ตัดตั้งฉากและเชื่อมถนนสามเส้นนี้คือ ถนนอาเนาะรู ถนนมายอ ถนนฤาดี ถนนปรีดาและถนนพิพิธ ซึ่งทั้งสองชุมชน พบบ้านเรือนและร้านค้าของชาวไทยเชื้อสายจีนอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณถนนอาเนาะรูซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ต่อมายังถนนปัตตานีภิรมย์ซึ่งวิ่งขนานกับแม่ปัตตานี ในอดีตแม่น้ำปัตตานีเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ใช้ในการคมนาคม อีกทั้งแม่น้ำปัตตานียังไหลเข้ามาในสู่แผ่นดิน แตกแขนงเป็นแม่น้ำลำคลองสายย่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ คลองอาเนาะซูงา ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนอาเนาะซูงา มีสมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ที่ดินบริเวณบ้านขุนพิทักษ์รายานี้ ท่านได้แบ่งให้กับลูกหลาน สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยที่ดินแบ่งออกเป็นสองแปลง ที่ดินฝั่งหัวมุมถนนคือที่ตั้งของบ้านนางวไล วัฒนายากร ธิดาของขุนพิทักษ์รายา กับนางเซ่งขิ้ม และเป็นมารดาของคุณศรีสุมาลย์ สุวรรณมงคล ซึ่งต่อมาในปัจจุบันบุตรชายคนที่ 4 ของคุณศรีสุมาลย์ คือ คุณอนุพาสน์ สุวรรณมงคล ท่านคือผู้คิดริเริ่มการบูรณะฟื้นฟูบ้านขุนพิทักษ์รายา ซึ่งบ้านหลังนี้ถือได้ว่าเป็นบ้านของต้นตระกูลที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ที่อยู่ในภาวะชำรุดทรุดโทรม ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่สนใจการอนุรักษ์ฟื้นฟูบ้านเก่าภายในย่าน ให้ได้มีองค์ความรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลบ้านเก่าของตนเอง CR : https://bankhunpitakraya.com/ CR :
เรือนสระมาลา เรือนไม้มลายู
เรือนสระมาลา เรือนไม้มลายู
ม.3 บ้าน.สระมาลา ต.คลองมานิง อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี 94000
เรือนสระมาลา --- เรือนไม้มลายูขนาดใหญ่อันทรงคุณค่า ของเมืองปัตตานีที่ยังหลงเหลืออยู่ให้เราได้ชื่นชม ม.3 บ้าน.สระมาลา ต.คลองมานิง (เข้าทางที่อยู่ตรงข้ามกับมัสยิดกรือเซะ) CR : เพจ สันติสุขแดนใต้
aowtani